การวิเคราะห์ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ วิธีอัตราส่วนความถี่ และวิธีอัตราส่วนความถี่สัมพัทธ์ ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย(Flood Susceptibility Analysis using Geographic Information System, Frequency Ratio and Relative Frequency Ratio Methods in San Pa Tong District, Chiang Mai, Thailand) 

โดย Worawit Suppawimut

The Jornal of Applied Science Vol. 20 No. 2 (2021)

 

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วม ในอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการอัตราส่วนความถี่ (Frequency Ratio: FR) และวิธีอัตราส่วนความถี่สัมพัทธ์ (Relative Frequency Ratio: RFR) ทำการวิเคราะห์โดยใช้ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดน้ำท่วมจำนวน 10 ปัจจัย ประกอบด้วย ความสูงภูมิประเทศ ความลาดชัน ความโค้งภูมิประเทศ ดัชนีความชื้นภูมิประเทศ ปริมาณน้ำฝน ระยะห่างจากแม่น้ำ ความหนาแน่นทางน้ำ การระบายน้ำของดิน ความหนาแน่นถนน และการใช้ที่ดิน ทั้ง 10 ปัจจัยนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมในอดีต เพื่อหาค่าอัตราส่วนความถี่และค่าถ่วงน้ำหนักของปัจจัย โดยข้อมูลน้ำท่วมในอดีตร้อยละ 70 ใช้เป็นพื้นที่ตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ และข้อมูลร้อยละ 30 ใช้เป็นพื้นที่ทดสอบ ข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมตัวอย่างจะนำมาวิเคราะห์ค่าคะแนนความสัมพันธ์กับแต่ละช่วงชั้นปัจจัย โดยวิธีการ FR และ RFR จากนั้นจึงนำไปวิเคราะห์ซ้อนทับเพื่อจัดทำเป็นแผนที่ความอ่อนไหวต่อการเกิดน้ำท่วมซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับต่ำมาก ระดับต่ำ ระดับปานกลาง ระดับสูงและระดับสูงมาก ผลการวิเคราะห์พบว่า วิธีการ FR ให้ผลลัพธ์พื้นที่อ่อนไหวระดับสูงมาก 42.8094 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 24.6809 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนวิธีการ RFR ให้ผลลัพธ์พื้นที่อ่อนไหวระดับสูงมาก 48.9114 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 28.1989 นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ด้วยวิธีการ RFR พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดน้ำท่วมมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ ความสูงภูมิประเทศ ระยะห่างจากแม่น้ำ และการระบายน้ำของดิน ตามลำดับ ส่วนผลการประเมินประสิทธิภาพของการวิเคราะห์ พบว่า วิธีการอัตราส่วนความถี่สัมพัทธ์ (RFR) มีค่าอัตราความสำเร็จร้อยละ 88.4687 และมีอัตราการคาดการณ์ร้อยละ 88.8565 ซึ่งสูงกว่าวิธีการอัตราส่วนความถี่ (FR) ที่มีค่าอัตราความสำเร็จร้อยละ 79.1719 และอัตราการคาดการณ์ร้อยละ 79.2925

ABSTRACT

The objective of this research was to apply geographic information system to analyze flood susceptibility in San Pa Tong district, Chiang Mai province using Frequency Ratio (FR) and Relative Frequency Ratio (RFR) methods. Ten flood causative factors were analyzed namely elevation, slope, curvature, topographic wetness index (TWI), rainfall, distance from river, stream density, soil drainage, road density and land use. The inventory flood data was randomly separated into 70% training data and 30% testing data. FR and RFR methods were applied to assign the correlation values between class factors and the flood training data. Then the flood susceptibility maps were prepared and classified into very low, low, moderate, high and very high. The FR method results revealed that the study area was classified as very high level of 42.8094 sq.km. (24.6809%) while the RFR method yielded the very high result of 48.9114 sq.km. (28.1989%. The result from RFR methods also revealed that the three most influencing factors were elevation, distance from river and soil drainage. The validation results showed that the success and prediction rate of FR methods were 79.1719%, 79.2925%, respectively while the success and prediction rate of RFR method were 88.4687% and 88.8565%.

DOWNLOAD

http://dx.doi.org/10.14416/j.appsci.2021.02.011

https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JASCI/article/view/242679