You are currently viewing ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี จ.ชลบุรี จากมุมมองภาพถ่ายจากดาวเทียม

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี จ.ชลบุรี

โดย วรวิทย์ ศุภวิมุติ 

จากมุมมองภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2 บันทึกเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564
พบปรากฏการณ์ดังกล่าวในพื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.แสนสุข ต.อ่างศิลา อ.เมืองชลบุรี และ ต.บางพระ อ.ศรีราชา จากการเน้นข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม Sentinel-2 จะเห็นว่าการแสดงผลในรูปแบบการผสมสีแบบธรรมชาติ (natural color composite) ที่แม้จะแสดงผลได้ใกล้เคียงกับที่สายตามนุษย์มองเห็น แต่การแสดงผลข้อมูลวัตถุในแหล่งน้ำจะมีข้อจำกัดเนื่องจากมีการดูดกลืนพลังงานสูงในช่วงคลื่นตามมองเห็น ดังนั้น การเน้นข้อมูลจากการทำดัชนีระหว่างช่วงคลื่นจะช่วยเน้นวัตถุที่สนใจให้แสดงผลได้อย่างเด่นชัดมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ดัชนีระหว่าง ช่วงสีแดง (red) และ ช่วงคลื่น vegetation red edge = (B05 – B04)/(B05 + B04) จะช่วยเน้นพืชทั้งในน้ำและพื้นที่บกได้ หรือ การทำดัชนี NDVI = (B08 – B04) / (B08 + B04) เป็นต้น เมื่อนำผลลัพธ์ทางดัชนี้ที่ได้ ไปเน้นค่าสีจะช่วยให้เห็นรายละเอียดที่ชัดเจนขึ้น หรือสามารถแสดงระดับความเข้มข้นของปรากฏการณ์และวัตถุต่างๆ ทั้งนี้ในชุมชนผู้ใช้ข้อมูลดาวเทียมได้มีการรวมรวม script การประมวลผลข้อมูลต่างเพื่อสามารถนำไปใช้งานเบื้องต้นผ่าน https://apps.sentinel-hub.com/eo-browser
ดังตัวอย่างภาพดาวเทียมบริเวณจ.ชลบุรี นี้ ได้ทดลองเปิดชุด script ชื่อว่า Aquatic Plants and Algae Custom Script Detector (APA Script) ซึ่งมีจุดเด่นที่การ mask พื้นที่ชายฝั่งในระบบ RGB แสดง turbid water เป็นสีน้ำตาล และเน้นแพลงตอนพืชในทะเลเป็นสีเขียวสว่าง และพื้นที่แพลงตอนพืชที่มีเข้มข้นที่สูงแสดงผลเป็นสีเหลือง ดังภาพล่าง ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาได้จาก https://custom-scripts.sentinel-hub.com/senti…/apa_script/
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก เพจของ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่รายงานเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 พบความหนาแน่นของ แพลงก์ตอนพืชชนิด Noctiluca scintillans ที่แตกต่างกันในแต่ละบริเวณที่เก็บตัวอย่าง
– พื้นที่เกาะลอย-ศรีราชา มีความหนาแน่น 2,800 เซลล์ต่อลิตร
– บางพระ มีความหนาแน่น 49,140 เซลล์ต่อลิตร
– หาดวอนนภา มีความหนาแน่น 5,590 เซลล์ต่อลิตร
อ่านรายละเอียดรายงาน ได้ที่ https://www.facebook.com/DMCRTH/posts/4155202104527255